|
หนังสือเล่มแรกของ มจร. หนังสือที่ชาว มจร. หลายท่านอาจจะไม่เคยเห็น
ค้างจิตติดใจมาแต่การสัมภาษณ์ ท่านศาสตราจารย์พิเศษ จำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต ซึ่งศิษย์สาย มจร. ทั่วโลก กระซิบมาว่า "ฮือฮามาก" เพราะอาจารย์จำนงค์นั้นเป็นคนพูดน้อยในที่สาธารณะ ยกเว้นแต่ในห้องเรียน การให้สัมภาษณ์แบบเปิดใจที่ วัดไทย ลาสเวกัส จึงถือว่าเป็นบิ๊กเซอร์ไพรซ์ในวงการศิษยานุศิษย์สาย มจร. เลยทีเดียว ในการพูดคุยกับอาจารย์จำนงค์นั้น หลักใหญ่ๆ จะหนีไม่พ้นเรื่องของ "หนังสือ" ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจของการศึกษา เพราะคุณสมบัติของนักศึกษานั้นต้อง "รักการอ่าน" เป็นชีวิตจิตใจ ไม่เช่นนั้นก็จะเป็นนักการศึกษาไม่ได้ เมื่อไม่ผ่านการเป็นนักศึกษาก็อย่าหวังว่าจะก้าวขึ้นไปสู่ความเป็นครูบาอาจารย์อาจหาญสอนคนอื่นเขา เพราะแค่ตัวเองก็เอาตัวไม่รอดแล้ว นักปราชญ์ระดับอ๋องนั้นท่านจะมีงานหลักคือ การสะสมหนังสือ โดยเฉพาะหนังสือเก่าอายุ 50 ปีขึ้นไป ยิ่งเก่าก็ยิ่งชอบ ใครมีหนังสือเก่าในคอลเล็คชั่นมาก ก็เหมือนมีพระเครื่องดีๆ ในครอบครองมากเท่านั้น หนังสือโบราณนั้นทำอย่างประณีต มีการออกแบบปกและใช้อักษรกันอย่างวิจิตร เรื่องราวที่นำมาพิมพ์ก็พิถีพิถัน พิมพ์ออกมาครั้งหนึ่งก็ถูกซื้อเก็บเข้าตู้หายเงียบ กว่าจะย้ายรังได้ก็ต้องให้เจ้าของตายไปแล้วโน่นแหละ ปัจจุบันแม้จะมีการพิมพ์หนังสือย้อนยุคมากเล่ม แต่โรงพิมพ์ก็จะเลือกพิมพ์เฉพาะหนังสือที่ติดตลาดคือขายได้ หนังสือบางเล่มแม้ว่าจะสำคัญ เช่น มหาวงศ์พงศาวดารศรีลังกา เป็นต้น แต่เป็นหนังสือที่หนามากๆ เกิน 500 หน้าขึ้นไป แถมมีคนสนใจน้อย อยู่ในกลุ่มประวัติศาสตร์โบราณคดี หนังสือแบบนี้โรงพิมพ์ไหนก็ไม่กล้าพิมพ์จำหน่าย เพราะกลัวขาดทุน ภาษาเซียนพระท่านเรียกว่าอยู่กับก๋ง คือขายไม่ออกซักที แบบนี้ใครจะกล้าลงทุน การพิมพ์หนังสือสำคัญในสมัยก่อนนั้น ท่านอาศัยวาระพิเศษ เช่นงานวันเกิด หรือวันตาย (งานศพ) เจ้าภาพซึ่งเป็นผู้มีอันจะกินและฉลาดมองเห็นการณ์ไกล ก็ย่อมจะพิจารณาสรรหาสิ่งของที่ดีที่สุดสำหรับสร้างไว้เป็นอนุสรณ์ชีวประวัติของตนและคนรัก ให้อยู่คงทนคู่โลกไป เช่นหนังสือสามก๊กฉบับเจ้าพระยาคลัง (หน) อันโด่งดังระดับโลกนั้น ก็ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในงานออกพระเมรุสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลศรี พระอัครราชเทวี ในปี พ.ศ.2470 ทุกวันนี้ นักอ่านสามก๊กต้องอ่านพระประวัติของนางเจ้าก่อนเข้าสู่เนื้อหาภายใน นี่คือการลงทุน "ครั้งเดียว" แต่ได้ผลคุ้มค่าที่สุด "หนังสืองานศพ" จึงเป็นหนังสือทรงคุณค่ามาแต่โบราณ ปัจจุบันนี้ ในงานศพผู้ใหญ่ระดับประเทศ ก็จะมีเซียนหนังสือคอยสืบข่าวว่าเจ้าภาพจะพิมพ์หนังสืออะไร จะได้ไปขอรับ บางรายอยากได้หลายเล่มถึงกับต้องลงทุนจ้างเด็กไปเข้าแถวรับหนังสือแทนก็มี ข่าวเมื่อวานนี้ก็คือ งานพระราชทานเพลิงศพ นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ที่วัดเทพศิรินทร์ ก็มีหนังสือดีแจกถึง 3 เล่ม ปรากฏว่าประชาชนเข้าแถวรับหนังสือกันแน่นแทบเกิดจลาจล ต้องใช้ทหารตั้งแถวแจก ไม่งั้นวุ่นวาย ดังนั้น ปัจจุบันแม้ว่าวิทยาการการพิมพ์จะสามารถช่วยทำหนังสือเก่าให้มีชีวิตขึ้นมาใหม่ได้ แต่ก็ไม่แน่นักว่าจะมีหนังสือดีในท้องตลาด เพราะเหตุผลด้านการตลาดดังที่เล่าประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งก็คือ คนที่เล่นหนังสือนั้นต้องมีความรู้เรื่องหนังสือพอตัว เพราะหนังสือมีหลายประเภท หลายแขนง แต่ละประเภทหรือแขนงก็มีความสำคัญต่างกันไป แผงหนังสือที่สวนจตุจักรจึงมีการออกร้านหนังสือแยกประเภทกันไป เพื่อมิให้ผู้สนใจเสียเวลาเดินหา ถ้าเรารู้ว่าร้านไหนมีหนังสือประเภทที่ต้องการก็เดินตรงเข้าไปถามได้เลย เป็นตัวช่วยให้ประหยัดเวลา บางช่วงหนังสืออาจจะขาดตลาดก็สามารถสั่งให้เก็บไว้ได้ ส่วนเรื่องราคาก็ขึ้นอยู่กับความพอใจ เพราะหนังสือเก่านั้นเขาซื้อขายเหมือนการเช่าพระเครื่อง ไม่มีราคาตายตัว ถามว่า หนังสือในหอสมุดแห่งชาตินั้นช่วยได้ไหม ? ตอบว่า ได้ดีทีเดียว เสียแต่ว่าเป็นของหลวงของกลาง ท่านต้องมีเคหสถานอยู่ใกล้ๆ เพราะจะอ่านได้ก็ต้องไปอ่านที่หอสมุด ห้ามนำออกนอกสถานที่ ทำได้เพียงขอถ่ายเอกสาร ซึ่งก็ไม่ได้เป็นรูปเล่มดั้งเดิมมาอีก บางหน้าถ่ายออกมาแล้วดำปิ๊ดปี๋ ที่หน้าห้องหนังสือประเภททั่วไปในหอสมุดแห่งชาตินั้น มีประกาศประจานผู้ที่ยืมหนังสือไปแล้วไม่ส่งคืนอยู่หลายคน ยิ่งห้องหนังสือหายากและหอจดหมายเหตุแห่งชาติแล้วยิ่งเข้มงวดหนัก อนุญาตให้ทำเรื่องขอถ่ายเอกสารจากหนังสือและไมโครฟิล์มโดยเจ้าหน้าที่เท่านั้น ไม่อนุญาตให้เราทำเองเลย ไม่ว่ากรณีใดๆ (ทำเรื่อง จ่ายตังค์ กลับ แล้วมารับในวันนัดหมาย) และในการเขียนหนังสือนั้น อุปกรณ์สำคัญนอกจากความคิดความอ่านแล้ว ก็ต้องมีหนังสือคู่มือให้มากที่สุด แบบว่าติดขัดตรงไหนก็คว้ามาอ้างอิงได้ทันที มิเช่นนั้นก็จะทำงานไม่สำเร็จ ใครมีหนังสือในคอลเล็คชั่นส่วนตัวมาก ก็คือคนที่มีทุนทรัพย์มาก เมื่อลงทุนมากกำไรก็ยิ่งมากไปด้วย ปัจจุบันมีการทำหนังสือออนไลน์ และมีเครื่องอ่านที่เรียกว่า E-Book Reader แปลว่า เครื่องอ่านหนังสืออีเล็คโทรนิคส์ ซึ่งจะเป็นจอขนาดเท่ากับหนังสือ สามารถดาวน์โหลดหนังสือจากห้องสมุดอีเล็คโทรนิคส์ที่มีบริการให้ซื้อผ่านอินเตอร์เน็ตและดาวน์โหลดมาอ่านได้ แต่ปัจจุบันยังติดปัญหาลิขสิทธิ์ที่เจ้าของหนังสือหรือผู้เขียนไม่ยินยอมให้บริษัทต่างๆ นำหนังสือของตนไปขายแบบนั้น เพราะยังคิดค่าตอบแทนกันไม่ลงตัวนั่นเอง แต่เชื่อว่าในภายหน้า หนังสือกระดาษอาจจะหมดไปจากโลกจริงๆ เราอาจจะเห็นหนังสือก็แต่ในจอ อ่านแล้วก็ปิดเครื่อง จะอ่านอีกก็ต้องสั่งซื้ออีกเป็นงวดๆ ไป หนักกว่าซื้อหนังสือกระดาษเป็นเล่ม เพราะซื้อครั้งเดียวแต่ใช้ได้ตลอดไป ถึงกระนั้นก็ดังว่า คือบริษัทที่จะนำหนังสือเข้าสู่ระบบออนไลน์นั้น ก็ต้องพิจารณาว่าจะเอาหนังสืออะไรบ้างไปทำเป็นหนังสืออีเล็คโทรนิคส์เพื่อให้ขายได้ ไม่งั้นก็ลงทุนเสียเปล่า หนังสือที่เราต้องการอ่านหลายๆ เล่ม อาจจะไม่มีในห้องสมุดออนไลน์ก็ได้ นี่คือดีมานด์-ซัพพลาย ที่เข้ามาเป็นอุปสรรคการอ่านของมนุษย์ในยุคต่อไป เช่นหนังสือเล่มที่นำเสนอในวันนี้ มิใช่หนังสือวิชาการตามที่มีอยู่ในท้องตลาดทั่วไป หากแต่เป็นหนังสือพิเศษ จัดพิมพ์เป็นอนุสรณ์ครบรอบ 9 ปี แห่งการเปิดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยสงฆ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หรือ มจร. ซึ่งก่อนหน้านั้นมีชื่อตามนามพระราชทานโดย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ว่า มหาธาตุวิทยาลัย หน้าปกระบุว่า ตีพิมพ์เพื่อฉลอง มจร. ครบรอบ 9 ปี ในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ.2499 นั่นหมายถึงว่า มจร. เริ่มเปิดทำการเรียนการสอนในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ.2490 จึงมาฉลอง 9 ปีในปี พ.ศ.2499 เมื่อเปิดอ่านด้านใน ก็พบว่ามีเนื้อหาที่น่าสนใจทุกอย่าง โดยเฉพาะพิธีประสาท (ในหนังสือเขียนเป็น ประสาธน์) ปริญญาบัตรให้แก่นิสิตรุ่นแรกที่เรียนจบ ในปี พ.ศ.2497 ซึ่งในงานนี้มีผู้ใหญ่ระดับประเทศ คือ ท่านจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ให้เกียรติมาเป็นประธานฝ่ายบ้านเมือง รวมทั้งจอมพล หลวงยุทธศาสตร์โกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งปริญญาบัตร มจร. ในรุ่นแรกๆ นั้น นอกจากปริญญาบัตรที่เป็นแผ่นกระดาษแล้ว ยังมีการมอบพัดเหมือนพัดเปรียญอีกด้วย และอีกมากมายเกินที่จะจาระไน พูดได้เต็มปากเต็มคำว่า ทุกรูปภาพและตัวอักษรในหนังสือเล่มนี้ เป็นประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่าของมหาวิทยาลัยสงฆ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หรือ มจร. น่าจะเป็นหนังสือบังคับให้นิสิต มจร. รุ่นใหม่อ่านก่อนเข้าห้องเรียนด้วยซ้ำ จะได้รู้ว่ากว่าจะมาเป็น มจร. ปัจจุบันนี้ บรรพบุรุษของเราแต่โบราณ ท่านฟันฝ่าอุปสรรคหนักหนาสาหัสมาเพียงไหน ใครไม่เชื่อก็ลองถามท่านศาสตราจารย์พิเศษ จำนงค์ ทองประเสริฐ ดูสิ รับรองว่าตอบคำถามยาว... และจากการที่มีการนำภาพพิธีประสาทปริญญาบัตรรุ่นแรกมาไว้ในหนังสือเล่มนี้ ทำให้ผู้เขียนแน่ใจว่า ต้องเป็นหนังสือเล่มแรก ของ มจร. ด้วย แหม หยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาก็มือสั่น เหมือนได้พระเครื่ององค์งามๆ อ่านไปก็อยากให้พระนิสิต มจร. ได้ทัศนาให้เป็นบุญตา แม้ว่าผู้เขียนจะมิใช่นิสิต มจร. เลยก็ตาม แต่ในฐานะที่อยู่ในวงการสงฆ์ ไม่ว่าแผนกนักธรรม บาลี หรือมหาวิทยาลัยสงฆ์ ผู้เขียนก็ให้ความสนใจทั้งสิ้น ไม่งั้นจะเขียนวิจารณ์ท่านพระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดี มจร. ไปหลายยกหรือ ดูสิ พระนิสิต มจร. เขามองผู้เขียนตาเขียวเชียว หาว่าไปมีอคติกับท่านเจ้าคุณประยูรเข้า แหมท่านน่ารักจะตาย เพราะผู้เขียนรักท่านนะสิ ถึงได้ถือไม้ไล่ตีไม่ลดรา มิเช่นนั้นก็ปล่อยท่านเข้าป่าไปแล้ว เอาละ อารัมภบทมามากแล้ว ขอนำท่านผู้อ่านเข้าสู่นิทรรศการ "หนังสือออนไลน์" เล่มแรกของ อะลิตเติ้ลบุ๊ดด่ะ ดอทคอม ชื่อว่า "อนุสรณ์ มหาจุฬาฯ ครบรอบ 9 ปี" ในบัดเดี๋ยวนี้
หมายเหตุ : ผู้เขียนได้หนังสือเล่มนี้มาจาก ห้องสมุด วัดไทย ดีซี ในคราวเดินทางไปร่วมประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา จึงต้องขอกราบขอบพระคุณ "พระวิเทศธรรมรังษี" หรือหลวงตาชี พระนักปราชญ์ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งท่านเห็นคุณค่า ได้สรรหาหนังสือดีมาประดับห้องสมุด และรักษาไว้ให้ยืนยงมานานกว่า 50 ปี ท่านเมตตาให้มา ทำให้เราท่านได้มีโอกาสเห็นหนังสือสำคัญเล่มนี้อย่างสมบูรณ์ที่สุด ในโลกออนไลน์ในวันนี้ ถ้าไม่มีหลวงตาชีก็ไม่มีหนังสือเล่มนี้ให้เราเห็น และขอขอบคุณ อาจารย์ สนิท แก้วหล้า ป.ธ.9 ผู้ทำการแสกนหนังสือเล่มนี้ออกมาได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด
|
พระมหานรินทร์ นรินฺโท |
ปกหนังสืออนุสรณ์ มจร. เล่มแรกของโลก
หน้าที่ 2-3
บทกลอนสรรเสริญสมเด็จพระปิยมหาราช
องค์ปฐมผู้สถาปนามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.)
หน้าที่ 4
พระบรมฉายาลักษณ์ในหลวง ร.5
หน้าที่ 5
ฉันทลักษณ์ สดุดีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
องค์เอกอัครศาสนูปถัมภก
หน้าที่ 6
พระบรมฉายาลักษณ์ รัชกาลปัจจุบัน
หน้าที่ 7
ฉันท์สดุดีพระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺโต)
อดีตอธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุ และอดีตสภานายก มจร. รูปแรก
องค์ผู้ริเริ่มการเรียนการสอน มจร. ในปี พ.ศ.2490
หน้าที่ 8
ภาพพระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺโต)
หน้าที่ 9-10
โอวาทของสมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภณมหาเถร ป.ธ.9)
วัดเบญจมบพิตร ขณะดำรงตำแหน่งสังฆนายก
หน้าที่ 11
ภาพสมเด็จพระวันรัต วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
หน้าที่ 12
คติพจน์ ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม พุทฺธสรมหาเถร ป.ธ.4)
วัดอนงคารามวรวิหาร กรรมการกิตติมศักดิ์ มจร.
หน้าที่ 13
ภาพสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดอนงคารามวรวิหาร
หน้าที่ 14
คำขวัญของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
(อยู่ ญาโณทยมหาเถร ป.ธ.9)
วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรรมการกิตติมศักดิ์ มจร.
หน้าที่ 15
รูปสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
หน้าที่ 16
คำขวัญของพระพิมลธรรม (อาจ อาสภมหาเถร ป.ธ.8)
อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
องค์สภานายก มจร. รูปที่ 2
หน้าที่ 17
ภาพพระพิมลธรรม วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
องค์สภานายกมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
หน้าที่ 18
หน้าที่ 19
หน้าที่ 20
หน้าที่ 21
หน้าที่ 22
หน้าที่ 23
พิเศษ
พระมหาจำนงค์ ทองประเสริฐ ป.ธ.9 พธ.บ.
ยังหนุ่มฟ้อหล่อเฟี้ยว
หน้าที่ 24
หน้าที่ 25
สาส์นจาก จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี
หน้าที่ 26
สาส์นจากท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ภริยานายกรัฐมนตรี
หน้าที่ 27
สาส์นจาก จอมพลอากาศฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี
ผู้บัญชาการทหารอากาศ
หน้าที่ 28
สาส์นจากจอมพลเรือ หลวงยุทธศาสตร์โกศล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
หน้าที่ 29
คติพจน์ของพลเอกมังกร พรหมโยธี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
หน้าที่ 30
หน้าที่ 31
คณาจารย์พุทธศาสตร์ มจร. ยุคบุกเบิก
แสง มนวิทูร - เสฐียร พันธรังษี - กรุณา กุศลาสัย
สามหนุ่มสามมุมผู้เกรียงไกรในยุทธจักรดงขมิ้นยังหนุ่มแน่น
เกษม บุญศรี ชื่อนี้ไม่ธรรมดา
ขุนวิทยาวุฒิ แค่ชื่อก็รู้ว่าทรงความรู้เอกอุ
นอกนั้นไม่แน่จริงไม่ได้สอน มจร. หรอก จะบอกให้
หน้าที่ 32
พระพิเทศพจนพิสุทธิ์
ปรมาจารย์ผู้ชำนาญภาษาอังกฤษ สอนมาตั้งแต่รุ่นแรก
สัตยนารายณ์ ติรปที สอนสันสกฤตและศาสนาพราหมณ์
Josept Forlazzini
สอนศาสนาคริสต์
แบบว่าใช้ผู้รู้จากสายตรงทั้งพราหมณ์และคริสต์มาสอนให้พระไทยรู้จักศาสนาอื่นๆ
อาจารย์พร รัตนสุวรรณ ผู้เกรียงไกร ก็เข้าสอนวิชาธรรมประยุกต์
อีกหลายท่านก็ระดับสุดยอดทั้งสิ้น
หน้าที่ 33
พระมหาเกี่ยว อุปเสโณ ป.ธ.9
สมัยนั้นเข้าสอนบาลี มจร. ป.ธ.6
ใครจะรู้ว่าปัจจุบันท่านเป็นถึงปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
ไม่งั้นก็ฝากตัวเสียแต่อยู่ในห้องเรียน มจร. แล้ว
พระครูธรรมบาล (สังเวียน ญาณเสวี)
คณะ 25 วัดมหาธาตุฯ
ชื่อนี้คงไม่มีใครรู้จัก แต่ถ้าบอกว่า "พระครูประกาศสมาธิคุณ" ละก็
ร้องอ๋อกันทั่วประเทศไทยทีเดียว เพราะท่านเป็นสุดยอดผู้ชำนาญในพระอภิธรรม
ขนาดว่าหลวงพ่อกิตติวุฑโฒยังยอมศิโรราบ
สมัย พ.ศ.2500 นั้น พระครูประกาศสมาธิคุณ ออกอากาศเป็นว่าเล่น
จัดได้ว่าเป็นดาราพระสงฆ์รุ่นแรกของเมืองไทย
ก่อนท่านจะก้าวไกลไปสร้างวัดไทยสารนาถที่ประเทศอินเดีย
หน้าที่ 34
เหล่านี้คือสุดยอดนักรบ มจร. ในยุคบุกเบิก
หน้าที่ 35
หน้าที่ 36
หน้าที่ 37
มุมซ้าย-บน พระครูปลัดธรรมจริยวัตร (กมล โกวิโท)
สมณศักดิ์ท้ายสุดคือ
พระธรรมราชานุวัตร หรือหลวงเตี่ย
เจ้าอาวาสวัดไทย แอลเอ รูปที่ 3
หน้าที่ 38
หน้าที่ 39
หน้าที่ 40
หน้าที่ 41
หน้าที่ 42
หน้าที่ 43
หน้าที่ 44
สมัยนั้น มจร. สอนบาลีถึงประโยค 9 ด้วยนะ
หน้าที่ 45
หน้าที่ 46
หน้าที่ 47
หน้าที่ 48
หน้าที่ 49
หน้าที่ 50
หน้าที่ 51-52 สารบัญ
หน้าที่ 54-70
บันทึกเหตุการณ์ มจร. ในรอบปีที่ผ่านมา (2498-99)
หน้าที่ 71
บันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์
พณฯ อูนุ นายกรัฐมนตรีสหภาพพม่า เดินทางมาเยี่ยม มจร.
หน้าที่ 72
(บน) ภาพพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารเรียน มจร.
(ล่าง) อธิการบดี มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา มาเยี่ยม มจร.
หน้าที่ 73
(ล่าง) จอมพล ป. พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรี
และสมเด็จพระวันรัต วัดเบญจมบพิตร กำลังสนทนากัน
ในวันประสาทปริญญาบัตร มจร.
รุ่นที่ 1 ในปี พ.ศ.2497
หน้าที่ 74-76
ภาพพิธีประสาทปริญญาบัตร มจร. ครั้งที่ 1 พ.ศ.2497
หน้าที่ 77
บุคคลสำคัญมาเยี่ยม มจร.
หน้าที่ 78
ปาฐกถาครั้งสำคัญ โดยพันเอกหลวงวิจิตรวาทการ
หมายเหตุ :
หนังสือเล่มนี้มีทั้งหมด 160
แผ่น หรือ 220 หน้า ซึ่งหนามาก
ขอนำเสนอเพียงเท่านี้ก่อน
ถ้าหากมีผู้สนใจก็จะพิจารณานำเสนอส่วนอื่นๆ ในภายหลัง
E-Mail
peesang2555@hotmail.com
alittlebuddha.com วัดไทย ลาสเวกัส 2920 McLeod Dr. Las Vegas Nevada 89121 USA (702) 384-2264 |