มติ มส. ส่อโมฆะ

 

 

เพราะว่า มส. ไม่ได้ลงมติ

 

แต่เป็นมติของพงศ์พรคนเดียว

 

มส. ก็แค่นั่งฟังเฉยๆ ไม่มีใครออกความเห็นเลย

 

 

 

 

 

 

 

การประชุมมหาเถรสมาคม วันที่ 30 กันยายน 2560

สมเด็จพระวันรัต วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นประธานการประชุม

ขณะที่สมเด็จพระสังฆราชทรงลาประชุม

 

 

 

 

 

 

 

 

ณรงค์ ทรงอารมณ์ ผอ.พศ.

 

นำเอาเอกสารของพงศ์พรเข้าไปอ่านให้ มส.ฟัง

ฟังแล้ว มส. ทุกรูปต่างนิ่ง ไม่มีใครออกความเห็นใดๆ

แต่กลับถูกสำนักพุทธฯ โฆษณาว่า เป็นมติของ มส.

เกิดเป็นคำถามว่า มติ มส. หรือ มติ พศ.

 

 

 

 

คำถามที่พระสงฆ์องค์เณรทั่วโลกพร้อมใจตั้งกันขึ้นมาก็คือว่า มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 22/2563 ซึ่งประชุมในวันที่ 30 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมานั้น อ่านดูทุกตาแล้ว ไม่ปรากฏตรงไหนที่ว่า "มหาเถรสมาคมได้ลงมติ" คือไม่เห็นความเห็นใดๆ ในกรณีนี้เลยจากกรรมการมหาเถรสมาคม แม้แต่รูปเดียว

 

 

ในเอกสารสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติที่ประกาศออกมานั้น ทั้งฉบับ เห็นมีแต่ "ความเห็น" ของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ซึ่งบังเอิญไปตรงกับ "คำสัมภาษณ์" ของ "พงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์" ซึ่งเผยแพร่ผ่านสื่อไปก่อนหน้าจะเข้าสู่ที่ประชุม มส. แล้ว

 

 

จะบอกว่า นายณรงค์ ทรงอารมณ์ นำเอาข่าวจากหนังสือพิมพ์ จากการสัมภาษณ์ของพงศ์พร ไปรายงานมหาเถรสมาคม ก็ว่าได้ไม่ผิด

 

 

หรือจะบอกว่า ณรงค์ ทรงอารมณ์ นำเอาความเห็นของพงศ์พร ไปเป็นของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และใช้มหาเถรสมาคม เป็น "ตราประทับ" เพื่อจะนำไปอ้างเป็นความชอบธรรม ในการดำเนินคดีกับอดีตเจ้าคุณเอื้อน ต่อไป ก็ว่าได้ไม่ผิด

 

 

หรือจะบอกว่า พงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ ใช้ให้ "ณรงค์ ทรงอารมณ์" เป็นเบ๊ ให้เอาความเห็นของตัวเองไปสั่งการให้มหาเถรสมาคมดำเนินการ "ตีตรา" ออกมาเป็น มติ มส. ดังที่เห็น ก็ว่าได้ไม่ผิด

 

 

ที่ผิดสังเกตก็คือว่า การประชุมวันที่ 30 กันยายน 2563 ที่ผ่านมานั้น สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงงดการประชุม และทรงมีพระบัญชาให้ สมเด็จพระวันรัต วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นประธานการประชุมแทน

 

 

ซึ่งเมื่อเท้าความกลับไปในการประชุม มส. วันที่ 20 กรกฎาคม 2560 ซึ่งครั้งนั้น มหาเถรสมาคมได้ลงมติให้ "พระราชปริยัติสุนทร-อมรภิรักษ์ ปสนฺโน" วัดโสธรวราราม ขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา แต่กลับถูกเจ้าอาวาสวัดโสธรและอดีตเจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทราคัดค้าน โดยอ้างว่าคุณสมบัติบกพร่อง เคยต้องอธิกรณ์ และที่สำคัญก็คือ อ้างว่า "การประชุม มส. ครั้งนั้น สมเด็จพระสังฆราช มิได้เสด็จไปเป็นประธานการประชุม จึงควรถวายพระเกียรติแก่สมเด็จพระสังฆราช ได้ทรงลงพระดำริวินิจฉัยโดยชอบธรรม" แปลง่ายก็หมายถึงว่า ผู้คัดค้านกล่าวหาว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก ลักไก่ นำเอาโผเจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทราเข้าที่ประชุมมหาเถรสมาคม ในวันที่สมเด็จพระสังฆราช มิได้เสด็จมาเป็นประธานการประชุม

ผลปรากฏว่า นายพงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ ผอ.พศ. ในสมัยนั้น ได้นำเอาหนังสือคัดค้านนั้น กราบทูลสมเด็จพระสังฆราช เพื่อขอให้มีการทบทวนมติดังกล่าว ขณะเดียวกัน นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีด้านกฎหมาย ก็ออกมาตีตราว่า "สมเด็จพระสังฆราช ทรงมีอำนาจสั่งทบทวนมติ มส. ได้"

 

 

ซึ่งถึงแม้ว่า ในการประชุม มส. ครั้งต่อมา สมเด็จพระสังฆราช จะเสด็จมาเป็นประธานการประชุม และที่ประชุมก็ "ยืนยัน" มติเดิม ส่งผลให้พระราชปริยัติสุนทร ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดอย่างถูกต้องชอบธรรมทุกประการไปแล้วก็ตาม

 

 

แต่มาครั้งนี้ กลับเป็น นายพงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ อดีต ผอ.พศ. เสียเอง ที่ให้นายณรงค์ ทรงอารมณ์ นำเอาความเห็นของตนเอง ไปแจ้งให้แก่ที่ประชุม มส. ทราบ ซึ่งการประชุมครั้งนี้ สมเด็จพระสังฆราช ก็มิได้เสด็จมาเป็นประธานเช่นกัน

ก็เข้าทำนอง ว่าแต่เขา อิเหนาเป็นเอง

 

 

และถ้ายึดเอาตามความเห็นของนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ที่ว่า "สมเด็จพระสังฆราช ทรงมีพระอำนาจสั่งทบทวนมติ มส. ได้" ก็อาจจะมีผู้คัดค้านมติมหาเถรสมาคมครั้งนี้ ไปยังสมเด็จพระสังฆราช เหมือนที่นายพงศ์พรเคยทำมาก่อน อาจจะติดปัญหานิดเดียวแต่เพียงว่า ผู้ยื่นนั้นต้องเป็น ผอ.พศ. หรือว่าใครก็ได้ ?

 

 

อย่างไรก็ตาม เนื้อหาของเอกสารจากสำนักพุทธดังกล่าว ทั้งหมดทั้งมวล นอกจากจะเหมือนกับคำแถลงข่าวของนายพงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ ทุกประการแล้ว ก็ยังไม่เห็นมี "มติ" หรือ "ความเห็น" อื่นใด ของบรรดากรรมการมหาเถรสมาคม ผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนั้นเลย แม้แต่อักษรเดียว ไม่ว่าจะเป็นด้าน "เห็นชอบด้วย" หรือ "โต้แย้ง" ใดๆ ก็ไม่เห็นมี ท้ายเอกสารระบุแต่เพียงว่า "ที่ประชุมรับทราบ" เท่านั้น ซึ่งโดยปกตินั้น เรื่องสำคัญเช่นนี้ ที่ประชุมต้องแสดงความเห็นอย่างรอบด้าน ทั้งด้านกฎหมายและพระธรรมวินัย หรือเหตุผลอื่นใด แต่นี่กลับไม่ปรากฏเลย คำว่ารับทราบ จึงอาจจะกลายเป็นว่า ที่ประชุม มส. ไม่ยอมรับว่าเป็นการกระทำของ มส. แต่ให้เป็นการกระทำของ พศ. แทน จึงเพียงแค่..รับทราบ

 

 

เมื่อมหาเถรสมาคมเพียงแค่ "รับทราบ" มิได้แสดงความเห็นหรือลงมติใดๆ ในทางผิดหรือถูก ต่อกรณีที่อดีตพระพรหมดิลก (เจ้าคุณเอื้อน) วัดสามพระยา ซึ่งกลับมาห่มจีวรทันทีที่ได้ทราบคำพิพากษา "ยกฟ้อง" จากศาลอุทธรณ์ และได้รับการยอมรับจากคณะสงฆ์ วัดสามพระยา อย่างล้นหลาม เหมือนสมัยอดีตพระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) ห่มจีวรกลับวัดมหาธาตุในอดีต จึงยังไม่สามารถวินิจฉัยให้เด็ดขาดลงไปว่า อดีตพระพรหมดิลก สามารถกลับมาห่มผ้าเหลืองได้เลยหรือไม่ หมายถึงว่า มหาเถรสมาคม ยังมิได้วินิจฉัย "สถานะพระภิกษุ" ของอดีตเจ้าคุณเอื้อนเลย

 

 

ดังนั้น คำกล่าวอ้างของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จึงถือว่าเป็นการอ้างในด้าน "กฎหมาย" เพียงด้านเดียว ไม่เกี่ยวกับพระธรรมวินัย เพราะในหลักพระธรรมวินัยนั้น ต้องมีคำวินิจฉัยของมหาเถรสมาคมเป็นหลักฐานยืนยัน มิใช่แค่ณรงค์เอาคำพูดของพงศ์พรไปอ่านให้ฟัง พอพระไม่ว่าอะไร ก็เออออเอาว่า มหาเถรสมาคม ลงมติเห็นชอบแล้ว แบบนี้เขาเรียกว่า ตีกิน

 

 

สถานะพระภิกษุของอดีตพระพรหมดิลก หรือเจ้าคุณเอื้อน วัดสามพระยา จึงถือว่ายังไม่เด็ดขาดในทางพระธรรมวินัย เพราะเมื่อยังไม่มีคำวินิจฉัยจากมหาเถรสมาคมให้อดีตพระพรหมดิลก "พ้นจากความเป็นพระภิกษุ" ตราบใด ก็ต้องถือว่า อดีตพระพรหมดิลก ยังเป็นพระภิกษุอยู่ ตราบนั้น

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

 

 

อะลิตเติ้ลบุ๊ดด่ะ ดอทคอม รายงาน : 8 ตุลาคม 2563

 

 

 

 

WWW.ALITTLEBUDDHA.COM WAT THAI LAS VEGAS 2920 MCLEOD DRIVE LAS VEGAS NEVADA 89121  U.S.A.  PHONE. 702-384-2264