สั่งปิดสถาบันขงจื่อทั่วอเมริกา
ข้อหาเป็นสปายให้จีน

อา..การเมืองลามมายังเรื่องวัฒนธรรมเข้าจนได้
ในเวลานี้ ไม่ว่าอะไรที่เป็น "แบรนด์จีน"
ล้วนถูกรัฐบาลสหรัฐอเมริกา "หมายหัว"
กดทั้งมือทั้งเท้าเอาให้จมน้ำตาย ตั้งข้อหาแม้กระทั่ง
"องค์กรทางวัฒนธรรม" ซึ่งอาจจะหมายถึง
"ศาสนาแบบจีน" ด้วยก็ได้
เพราะศาสนากับวัฒนธรรมนั้นเป็นของคู่กัน

สาขาสถาบันขงจื่อทั่วโลก
ภายใต้การบริหารของรัฐบาลจีน
ถือว่ามีบทบาทที่ค่อนข้างคลุมเครือคาบลูกคาบดอก
มองไม่ออกว่าเป็นองค์กรอิสระหรือขึ้นตรงต่อรัฐบาลจีน
ซึ่งอาจจะใช้องค์กรแห่งนี้ (ในบางประเทศ) ไปในวัตถุประสงค์ทางการเมือง
จึงเป็นที่ไม่น่าไว้วางใจ ซึ่งเชื่อว่า ถ้าสหรัฐอเมริกาไม่ไว้วางใจเสียแล้ว
ประเทศอื่นๆ ในยุโรปก็คงจะเอาอย่าง เพราะต่างก็กลัวถูกจีนกลืนกินเช่นกัน
ก่อนหน้านั้น สหรัฐอเมริกาเคยเป็นไม้เบื่อไม้เมากับสหภาพโซเวียต
ซึ่งเป็นฝรั่งเหมือนกัน แต่ปัจจุบันอเมริกาหันมาสู้กับจีน ซึ่งเป็นชาติเอเชีย
แน่นอนว่าฝรั่งชาติยุโรปก็คงต้องสู้ด้วยช่วยกัน
ชาวตะวันตกไม่มีทางที่จะยอมให้ชาติตะวันออกปกครองตนเองและโลกแน่

วันก่อนปิดกงสุล วันนี้ปิดขงจื่อ วันต่อไป ? ฯลฯ
เรื่องศาสนาในและวัฒนธรรมนั้น
ในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกาไม่ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่
เพราะรัฐธรรมนูญให้การคุ้มครองเอาไว้อย่างแข็งแรง แต่พักหลังมานี้
หลังจากกลุ่มผู้ก่อการร้ายที่ใช้ความเชื่อใน
"ศาสนาอิสลาม" เป็นตัวปลุกระดมมวลชน
และถูกหมายหัวจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาแล้ว ก็เพิ่งจะมีวันนี้แหละ
ที่องค์กรทางวัฒนธรรม "ขงจื่อ"
ถูกขึ้นบัญชีดำจากสหรัฐอเมริกา ในข้อหาจารกรรม และทำท่าว่าจะลามปามไปทั่วโลก
เพราะสถาบันแห่งนี้มีสาขาอยู่ทั่วโลก
ในอดีต
ศาสนาและวัฒนธรรม เคยถูกนำมาใช้เป็นเงื่อนไขทางการเมืองบ่อยครั้ง เช่น
เมื่อคราวจีนส่งกำลังบุกยึดทิเบต ในปี พ.ศ.2502
(ค.ศ.1959) รัฐบาลอินเดียในสมัยนั้น
สั่งเปิดพรมแดนต้อนรับ
"องค์ดาไลลามะ" พร้อมด้วยบริวารให้เข้าไปตั้งถิ่นฐาน
ก็ต้องทะเลาะกับจีนแทบมองหน้ากันไม่ติด วัดพุทธจีนในอินเดียต้องร้างไร้พระจีน
เพราะปัญหาทางการเมืองที่พัวกันกับการศาสนา
สหรัฐอเมริกาก็เล่นเกมเดียวกัน นั่นคือ
ประกาศยอมรับองค์ดาไลลามะ
เชื้อเชิญให้เข้าสหรัฐอเมริกา ไปนั่งคุยกับประธานาธิบดีถึงในทำเนียบขาว
จีนประท้วงครั้งแล้วครั้งเล่าก็หาเป็นผลไม่ เพราะสหรัฐอเมริกานั้นใหญ่กว่าจีน
มาบัดนี้
จีนเริ่มตัวใหญ่ และคาดหมายว่าจะโตกว่าอเมริกาๆ
จึงต้องทอนกำลังจีนลงทุกวิถีทาง เพราะในโลกใบนี้ ใครจะใหญ่กว่าอเมริกาไม่ได้

ไมค์ ปอมเปโอ
รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา
ประกาศปิดสถาบันขงจื่นในสหรัฐอเมริกาภายในสิ้นปีนี้
ปอมเปโอ
จี้มหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ สั่งปิดสถาบันขงจื่อ หวั่นแพร่อิทธิพลจีน
ไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ออกมาเรียกร้องวานนี้ (1
ก.ย.) ให้มหาวิทยาลัยทั่วอเมริกา
"สั่งปิดสถาบันขงจื่อ"
ซึ่งเป็นองค์กรเผยแพร่วัฒนธรรมและภาษาของจีนภายในสิ้นปีนี้
"ผมเชื่อว่า ทุกคนก็คงทราบดีว่าองค์กรเหล่านี้ มีความสุ่มเสี่ยงอย่างไร" ปอมเปโอ
ให้สัมภาษณ์กับฟ็อกซ์บิสสิเนส
โดยกล่าวหาสถาบันซึ่งมีรัฐบาลจีนหนุนหลังว่าเป็น "แหล่งรวบรวมสปาย และผู้สมรู้ร่วมคิด" ของปักกิ่งตามมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ
"ผมเชื่อว่ามหาวิทยาลัยก็น่าจะรู้
และผมหวังเราจะสั่งปิดสถาบันพวกนี้ให้หมดได้ ภายในสิ้นปี"

การประท้วงสถาบันขงจื่อมิให้ครอบงำอเมริกันด้วยวัฒนธรรมจีน
เดือนที่แล้ว
ปอมเปโอ
ก็ออกมากล่าวโจมตีศูนย์ซึ่งกำกับดูแลสถาบันขงจื่อในสหรัฐฯ ว่าเป็นองค์กรที่
"เผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อและอิทธิพลชั่วร้ายของจีน"
และบังคับให้สถาบันเหล่านี้ต้องขึ้นทะเบียนเป็น
"ผู้แทนต่างชาติ"
เดวิด สติลเวลล์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออก
กล่าวในตอนนั้นว่าสถาบันขงจื่อตามสถานศึกษาในอเมริกาอาจไม่ต้องถูกปิดก็ได้
แต่ทางมหาวิทยาลัยจะต้องคอย
"สอดส่องคุมเข้ม"
ว่าองค์กรเหล่านี้ดำเนินกิจกรรมในลักษณะใดบ้าง
หวัง อี้ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศจีน
ได้ออกมาเตือนเมื่อเดือน ส.ค. ให้ทุกฝ่ายหลีกเลี่ยง
"สงครามเย็นครั้งใหม่"
ซึ่งคงจะหมายถึงความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
ปอมเปโอ ชี้ว่าสถานการณ์ในปัจจุบันแม้จะใกล้เคียงกับสงครามเย็นอยู่บ้าง
แต่ความท้าทายนั้นแตกต่างกัน
"มันแตกต่างจากสงครามเย็นในแง่ที่ว่า เรากำลังถูกท้าทายโดยชาติซึ่งมีประชากร
1.4
พันล้านคน และมีความท้าทายทางด้านเศรษฐกิจเข้ามาเกี่ยวด้วย" เขากล่าว
รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ยังเอ่ยถึงความพยายามของ
ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์
ที่จะกีดกันบริษัทจีนอย่าง หัวเว่ย เทคโนโลยีส์ โดยยอมรับว่า
อาจมีมาตรการลงโทษอื่นๆ ตามมาอีกในอนาคต
"พวกคุณจะได้เห็นมาตรการที่ครอบคลุมกว่านี้
ผมเชื่อว่าอีกไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์ ก็คงจะมีประกาศออกมา
และเราจะได้เห็นกันว่า สหรัฐฯ พร้อมเผชิญหน้ากับปัญหานี้อย่างจริงจัง
เพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของอเมริกาเอง"

เบลเยี่ยมสั่งปิดสถาบันขงจื่อ
ข้อหาเดียวกับอเมริกาคือสอดแนม
มหาวิทยาลัยในเบลเยี่ยม เตรียมปิดสถาบันขงจื่อ
หลังหน่วยราชการลับพบพิรุธ ผอ.สถาบันเอี่ยวสปายจีน
เซาท์ไชน่า มอร์นิ่ง โพสต์
รายงานว่า มหาวิทยาลัย
Vrije
Universiteit Brussel (VUB)
ในกรุงบรัสเซลล์ของเบลเยี่ยม
ไม่ต่อสัญญาการเปิดสถาบันขงจื่อ
ซึ่งเป็นสถาบันสอนภาษาและวัฒนธรรมจีนที่ได้รับการสนับสนุนโดยรัฐบาลจีน
หลังจากมีการพบพิรุธที่เชื่อได้ว่า สถาบันดังกล่าวอาจเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสอดแนมด้านข่าวกรองของรัฐบาลปักกิ่ง
ในแถลงการณ์ของมหาวิทยาลัยระบุว่า
"การดำเนินงานของสถานบันฯไม่สอดคล้องกับหลักการวิจัยเสรีของเรา
อ้างอิงจากข้อมูลที่มหาวิทยาลัยได้รับ ..
เหตุนี้มหาวิทยาลัยมีความเห็นว่าการร่วมมือกับสถาบันนั้นไม่สอดคล้องกับนโยบายและวัตถุประสงค์ของอีกต่อไป"
ความเคลื่อนไหวของมหาวิทยาลัยเบลเยี่ยมมีขึ้นจากการที่เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
หน่วยราชการลับของเบลเยี่ยมกล่าวหาว่านายซ่ง ซินหนิง (Song
Xinning)
อดีตหัวหน้าสถาบันดังกล่าวที่
VUB
ทำงานร่วมมือกับหน่วยสืบราชการลับของจีน
ด้านเว็ปไซต์ brusselstimes
รายงานเช่นว่า สถาบันขงจื่อใน
VUB
ต้องปิดตัวลงในเดือนเดือนมิถุนายนปีหน้า หลังเปิดทำการมาตั้งแต่ปี
2006
หนังสือพิมพ์
De Morgen
ของเบลเยียม รายงานว่า
VUB
ได้เพิกเฉยต่อคำเตือนจากหน่วยราชการลับเบลเยี่ยม เกี่ยวกับกิจกรรมของสถาบันดังกล่าว
กระทั่งนายซ่ง ถูกเพิกถอนวีซ่าเชงเก้น
พร้อมห้ามเดินทางเข้าประเทศยุโรปเป็นเวลา
8
ปี
สอดคล้องกับรายงานก่อนหน้านี้ของ เซาท์ มอร์นิ่ง โพสต์ จากการสัมภาษณ์อดีต ผอ.สถาบันขงจื่อ แห่งนี้ว่า
เขาถูกทางการเบลเยี่ยมสั่งห้ามเข้าประเทศ เมื่อวันที่
30
กรกฎาคม ที่ผ่านมา
โดยวีซ่าของเขาไม่ได้รับการต่ออายุ จากการที่ถูกระบุว่า มีพฤติกรรมสนับสนุนข่าวกรองของจีน

นายซ่ง อ้างว่า การถูกปฏิเสธวีซ่าของเขา
เป็นผลมาจากการที่เขาปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่การทูตสหรัฐในบรัสเซลล์
ในการให้ข้อมูลบางอย่าง
รวมถึงเขายังปฏิเสธว่า ไม่มีส่วนรู้เห็นหรือเป็นสายลับจีนตามที่ถูกกล่าวอ้าง
จึงเป็นผลให้ถูกกลุ่มประเทศเชงเก้นแบน ห้ามเดินทางถึง
8 ปี
ทั้งนี้ สำหรับสถาบันขงจื่อ
ถือเป็นสถาบันมุ่งเผยแพร่ภาษาและวัฒนธรรมจีน ที่แพร่หลายกว่า
480
แห่ง ทั่วโลก
โดยเป็นสถาบันที่อยู่ภายใต้การดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการจีน
ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา สถาบันแห่งนี้ ได้รับการจับตาจากบรรดาชาติตะวันตก
ด้วยข้อกล่าวหาว่ามีความเคลื่อนไหวที่เชื่อมโยงด้านการจารกรรมของสายลับจีน
สถาบันขงจื่อหลายแห่ง ทั้งในสหรัฐและจีน ถูกสั่งปิดในหลายมหาวิทยาลัย
ขณะเดียวกันกับที่นักวิชาการและนักวิจัยจีนในสถาบันแห่งนี้ถูกสอบสวน
บางส่วนถูกขับออกจากสหรัฐ
หรือถูกดำเนินคดีจากข้อกล่าวหาพยายามขโมยทรัพย์สินทางปัญญา
เช่นเดียวกับสถานการณ์ในฝั่งยุโรป ที่เกิดขึ้นกับสถาบันขงจื่อ ทั้งในมหาวิทยาลัยไลเดนของเนเธอร์แลนด์
มหาวิทยาลัยสตอกโฮล์มของสวีเดน และมหาวิทยาลัยลียงในฝรั่งเศส
ข่าว :
ผู้จัดการ-โพสต์ทูเดย์ : 3
กันยายน 2563
อ่านบทความ :
สถาบันขงจื่อซุ่มเงียบแผ่อิทธิพลจีน |