ทิศทางชีวิต..ทิศทางประเทศ และทิศทางคณะสงฆ์ ปี '63
พุทธศักราชเก่าผ่านไป พุทธศักราชใหม่เข้ามา มีคำถามว่า
"ควรทำอย่างไร"
จึงจะสามารถดำรงชีวิต ธุรกิจ องค์กร สังคม ประเทศชาติ ไปรอด ขอตอบรวมๆ
สั้นๆ ง่ายๆ แบบที่ต้องไปคิดกันเอง ทำกันเองว่า…
ทบทวนหน้าที่ กำหนดวิถีในปีใหม่ วางแผนแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
สร้างแผนพัฒนาถาวร…
ที่กล่าวมานี้คือ…
"ปรุง เปลี่ยน ปรับ ขยับขยาย"
อีกทั้ง ต้องมีวิธีบริหารเชิงพุทธที่ครอบคลุมรอบด้าน
4
แผน อันเป็นแผนคู่กัน เรียกว่า
"ปธาน"
คือ…กำจัด
และป้องกัน,
สร้างสรรค์ และรักษา…
–
กำจัด (ปหานปธาน)
คือ สภาพความไม่ดี ส่วนตัว องค์กร แผน บุคคล ที่พิจารณาแล้วว่าเป็นภัย
ดุจดังประเทศทุกประเทศที่มีตำรวจ
–
ป้องกัน (สังวรปธาน)
คือ อย่าให้อะไรๆ ที่ไม่ดีเกิดขึ้นใหม่อีก ดุจดังกำแพงคุก
แนวป้องกันประเทศที่วางทหาร ตำรวจ ไว้ป้องกัน
–
สร้างสรรค์ (ภาวนาปธาน)
คือ สร้างความดี สร้างคนดีมีความสามารถ สร้างสิ่งที่ดีด้วยแผนการ และวิจารณปัญญาญาณ
ทั้งในด้านส่วนตัว และองค์กร ประเทศ ทั้งวัตถุธรรม นามธรรม ให้เกิดขึ้น
และต้องให้สามารถสู้สังคมโลกในยุคนี้ได้
–
รักษา (อนุรักขนาปธาน)
คือ รักษาความดี คนดี หลักการดี
วัตถุที่ดีอันสร้างขึ้นแล้วให้ดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน สมค่า สมราคา
เพิ่มมูลค่าในอนาคต อีกทั้ง ยังต้องสามารถนำไปต่อยอดได้
ดุจดั่งลายกนกไทย
หากบุคคล องค์กร ผู้บริหาร ขาดหลักการดังกล่าวมาแล้วนี้
ถือว่าย่ำอยู่กับที่ ตามไม่ทัน รวยไม่ทน จนถาวร เปรียบเหมือนไก่รองบ่อน
นั่งนอนรอความหายนะ ที่อนาคตจะเข้ามาย่ำยี
ถามว่า…
แล้วทางการบริหารคณะสงฆ์ไทย จะไปในทิศทางไหนจึงจะ
"รอด-รุ่ง"
ในภาวการณ์ของโลกที่เป็นยุค
"โอฆสงสาร = โอ-ฆะ-สง-สาร"
คือความวิปริตพัดผันมาอย่างรุนแรง อันเป็น…
สังคมกามารมณ์ สังคมบริโภค สังคมโฮกฮาก สังคมกากเดน…
องค์กรคณะสงฆ์ต้องประเมินสร้างคมเป็นสังคมให้ชัดเจน
ดั่งพระพุทธเจ้าตรัสโอฆสงสาร แล้วทรงอุบัติขึ้นในโลก
ทำการต่อสู้โลกที่ตกอยู่สังสารวัฏทั้ง
4
ประการ จนพุทธศาสนารุ่งเรือง ทั้งศาสนบุคคล ศาสนธรรม ศาสนสถาน ศาสนวัตถุ
ศาสนพิธี แต่ความอ่อนแอของภิกษุบริษัทยุคโอฆสงสาร
และการรุกรานทางการเมือง ศาสนา ได้เข้ามาย่ำยีความเจริญ
ความสุขของชาวโลก จนพระพุทธศาสนาหายไปจากหลายๆ ประเทศ เหลือแต่
"ซากที่ประกาศความเก่งกาจของพุทธบริษัทยุคก่อนเก่า"
ในเมืองไทยก็จะเป็นเช่นหลายๆ ประเทศ องค์กรคณะสงฆ์พึงมองปัญหา
และความต้องการของชาวโลกให้ถ่องแท้
แล้วสร้างบุคลากรเพื่อสนองตอบความต้องการอย่างมีแผน
เพื่อประโยชน์สุขของชาวโลก โดยสร้างพระเณรให้
"ดี ขลัง ดัง เด่น"
ใน
7
รูปแบบ คือ…
–
สร้างพระให้ศึกษาปริยัติอย่างแตกฉาน
–
สร้างพระนักปกครองที่ช่ำชองเชี่ยวชาญ
–
สร้างพระคณาจารย์ขมังเวทย์
–
สร้างพระนักเทศน์ที่เก่งกาจ
–
สร้างพระนักปราชญ์ที่แตกฉาน
–
สร้างพระคณาจารย์ที่ไม่โอ้อวด
–
สร้างพระที่ยอมบวชมรณาคาผ้ากาสาวพัสตร์
การสร้างพระทุกรูปแบบดังกล่าวมาแล้วนี้ ต้องมีพระที่เป็นแม่ทัพมือถึง
มีการแต่งตั้งที่แม่นยำ องค์กรคณะสงฆ์ชั้นปกครองต้องพิจารณาตนเอง
และสอดส่องมองลงมาว่าปัจจุบันตนเองได้มาเพราะอะไรๆ
วิธีการที่ได้มาซึ่งอำนาจ หน้าที่ของตนนั่นแหละ จะเป็นทั้งผลดี
และผลร้ายต่อพระพุทธศาสนา เพราะต้นอย่างไร ผลก็เป็นอย่างนั้น
มององค์กรสูงสุดของคณะสงฆ์ให้ออกเสียก่อน การพัฒนาบุคลากร
และการแต่งตั้ง จะได้ดำรงไว้ซึ่งความเป็นธรรมแก่พระสงฆ์
อันจะมีผลต่อสังคม ประเทศชาติ ผู้มีสมณศักดิ์ที่บริหารในทุกระดับชั้น
ต้องสำนึกเรื่องยศศักดิ์เสมอ…
ว่า
–
ยศศักดิ์เป็นภาระหนักของคนไม่มีความสามารถ
–
ยศศักดิ์เป็นเพชฌฆาตของการบริหารที่ไม่ยุติธรรม
–
ยศศักดิ์เป็นความชอกช้ำของคนผิดหวัง
–
ยศศักดิ์เป็นพลังของคนดี
–
ยศศักดิ์เป็นศักดิ์ที่ต้องมีความสง่างาม
คำว่า
"ยศ-ศักดิ์"
มิใช่สิ่งที่ดีเสมอไป สำหรับสมณภาวะที่มากไปด้วยกิเลส
และการถูกบำรุงบำเรอด้วยผู้น้อย ขุนพลอยพยัก
ซึ่งมีคำพูดอย่างความคิดอีกอย่าง
ขุนพลอยพยัก จะมีคำพูดแบบประจบสอพลอว่า…
ได้ครับพี่ ดีครับผม เหมาะสมครับนาย…
ขุนพลอยพยัก จะแอบซ่อนคำพูดอันฉ้อฉลว่า…
ฉิบหายผมหนี ได้ดีผมกลับ ตกอับผมทิ้ง…
การที่คณะสงฆ์เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้
ได้ให้ฆราวาสมาออกกฎเกณฑ์บังคับบัญชา
ถือว่าเป็นการหมิ่นภูมิปัญญาองค์กรสงฆ์อย่างรุนแรง
!
เพราะในความเป็นจริง พระในองค์กรสงฆ์มีภูมิปัญญาทั้งทางโลก และทางธรรม
มากว่าฆราวาสที่ชอบวิพากษ์โจมตี ดูหมิ่นสงฆ์
องค์กรสงฆ์ต้องแสดงให้รู้ว่า ถ้าเมืองไทยไร้พระพุทธศาสนา
ทุกอย่างล่มสลาย ไม่ว่าภาคการเมือง สังคม เศรษฐกิจ
และต้องให้รัฐบาลสำนึกว่าเศรษฐกิจขับเคลื่อนได้ด้วยพระพุทธศาสนา
เอาแค่เพียงไหว้พระศักดิ์สิทธิ์ เศรษฐกิจก็ขับเคลื่อนในทุกๆ วัน
เศรษฐกิจขับเคลื่อนเลื่อนไหลเพราะพระพุทธศาสนา ดูเฉพาะงานศพหนึ่งๆ
ถ้าไม่ใช่พระพุทธศาสนา จะทำมาค้าขายอะไรกัน
เทียบศพคนนับถือศาสนาอื่นกับศพคนนับถือพระพุทธศาสนา
ใครขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ยิ่งศพเศรษฐี คนมียศศักดิ์
เศรษฐกิจขับเคลื่อนทุกกระบวนการ แล้วจงบอกว่า "อย่าทำลาย"
หากจะถามว่าองค์กรสูงสุดจะบริหารอย่างไร
?
ให้ศาสนาเป็นไปได้ด้วยดี
1.
ต้องรักษาส่งเสริม คำสอน วัฒนธรรม ประเพณี ให้ดำรงอยู่ในแต่ละภูมิภาค
ให้เจ้าอาวาสทุกวัดรักษาให้มั่นคง
2.
กระจายพระสงฆ์ที่มีความรู้ความสามารถลงสู่วัดต่างๆ
3.
ปริวรรตพิธีกรรมในการประกอบศาสนพิธี ให้ประชาชนเข้าใจ และมีส่วนร่วม
4.
ให้ทุกวัดไหว้พระสวดมนต์เย็น
เปิดโอกาสให้ประชาชนสวดมนต์ร่วมด้วยกับสงฆ์
โดยกำหนดบทสวดมนต์แบบที่รัชกาลที่
5
โปรดให้ สมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒโน วัดสุทัศนเทพวราราม)
จัดทำหนังสือสวดมนต์เป็นต้นแบบถวาย ปัจจุบันเรียกว่า
"สวดมนต์ฉบับวัดสุทัศน์"
ซึ่งเป็นแบบที่ดีที่สุด วัดอื่นๆ เอาไปพิมพ์ได้
การสวดมนต์ควรสร้างบุคลากรสงฆ์ฝึกซ้อม
เลื่อนเวลาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชนถ้าทำได้
ตอนเย็นประชาชนก็มีวัดสวดมนต์ทุกวัด เดินทางไปวัดไหนๆ เข้าสวดมนต์เย็น
–
ค่ำ ได้ เพราะมีหนังสือสวดมนต์ฉบับเดียวกัน
ทุกวันนี้ พระก็สวดมนต์เย็น
4
โมงบ้าง
5
โมงบ้าง สวดบทไหนก็ตามใจ จะไม่ทำวัตรสวดมนต์เย็นก็ไม่ทำเฉยๆ
พระหย่อนยาน สมภารเกียจคร้าน ประชาชนไม่มีสถานที่สวดมนต์
ถ้าสมภารทำไม่ได้ก็ปลดเสีย หาใหม่ แต่วัดใหญ่ๆ ต้องนำร่อง
หลังสวดมนต์บำเพ็ญกัมมัฏฐาน มีคำอาราธนาพระกัมมัฏฐานเป็นแบบเดียวกัน
มีการอัญเชิญพระไตรปิฎกที่วิเคราะห์แล้วว่าควรเทศน์สอนทุกวัน
และสอดคล้องกับการแก้ปัญหา พัฒนามนุษย์ ซึ่งเห็นว่า
"พระไตรปิฎกฉบับสำนักพิมพ์ลูกสาว ส. ธรรมภักดี"
เป็นพระไตรปิฎกที่เรียบเรียงไว้เทศน์สอน เพียงตั้งนะโม ฯลฯ
3
จบ เทศน์อ่านได้เลย
ให้วัดแต่ละวัดวิเคราะห์เอง ปรับเปลี่ยนภาษาเอง
และภูมิภาคใดมีคัมภีร์เทศน์ให้เทศน์แบบอ่านคัมภีร์ รักษาศาสนพิธีในการรับศีลฟังเทศน์ของภูมิภาคให้มั่นคง
5.
การไหว้พระสวดมนต์ให้จัดที่วิหาร โบสถ์ เพื่อการกราบไหว้พระประธาน
มิใช่ทำที่หอสวดมนต์ ทั้งนี้ อุโบสถ วิหาร จะถูกทำความสะอาดทุกวัน
เพื่อรองรับประชาชน
6.
การใช้สื่อ โทรทัศน์ วิทยุ สวดมนต์ ฟังเทศน์ วันละ
2
ชั่วโมง เวลาเย็น ปรับเปลี่ยนวัดกันไป จะทำให้พระสงฆ์มีการเตรียมตัว
จะใช้แบบออนไลน์ ยิงสัญญาณสู่ช่องใหญ่ก็ได้ รัฐจัดอุดหนุนบุคลากร
และค่าเวลา
เพียงเท่านี้ นิมิตหมายอันดีก็จะเกิดขึ้นแก่คณะสงฆ์ สังคม
ส่วนเมื่อมีปัญหาใดใด ค่อยแก้ไข ค่อยพัฒนากันไป
…อย่าท้อ
อย่าวางแผนแบบฝันเฟื่อง…
ทำให้ครบ
3
ก้าว คือ ก้าวแรก ก้าวหน้า ก้าวกระโดด แต่ถ้าย่ำอยู่กับที่
ก็เหมือนเดิม นับวันจะเสื่อมไปตามสภาพความเกียจคร้าน
และกระแสรุกรานของความเสื่อมของสังคมโลก
ในชีวิต และสมัยของสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่งๆ
ย่อมต้องมี
"อนุรักษ์-พัฒนา"
เหมือนเกียรติคุณของพระมหากษัตริย์
ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
รัชกาลที่
9
ตรัสถึงคุณลักษณะพิเศษของพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีแต่ละพระองค์
เป็นภาษาอังกฤษให้ชาวต่างชาติฟัง ซึ่งสืบกันได้
"แต่ถ้าในชีวิตตำแหน่งของสังฆราชองค์หนึ่งๆ
ซึ่งมีองค์กรเป็นมหาเถรสมาคม มิได้มีการอนุรักษ์พัฒนาเป็นเอกลักษณ์
เกียรติคุณก็ไม่ปรากฏ ตำแหน่งต่างๆ ที่ไร้ตำนาน
ก็คือความหยุดนิ่งของยุคสมัยที่ดำรงตำแหน่ง"
ที่กล่าวมานี้ มิใช่เพียงวิจารณ์ แนะนำ ให้เกิดความกินแหนงแคลงใจ
อะไรที่ทำไม่ได้ และไม่เคยทำ จะไม่แนะนำใคร เพราะ
"หนึ่งนิ้วชี้ที่ชี้แจง ชี้แนะ ชี้นำ ชี้ชวน ชี้ถูก ชี้ผิด"
จะมีคำถามกลับมาว่าเหมือนนิ้วทั้ง
4
ที่กำไว้แล้วชี้เข้าหาตัว จะเกิดเป็นคำ
4
คำว่า
ท่าน-ทำ
-ได้-ไหม
ท่าน-ทำ-เป็น-ไหม
ท่าน-ทำ-หรือ-ยัง |